ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ถนอมผิวกายด้วย “สบู่” ทำมือ เหมาะมากในยุคประหยัดแบบนี้

Posted On
Posted By Biim

ยุคประหยัดแบบนี้ หันมาทำของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นกันบ้างดีกว่า อย่าง สบู่ ฟอกหน้าหรือผิวกาย หลายคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด อาจจะมีอาการแพ้หรือเกิดอาการระคายเคืองง่าย หรือยังหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการไม่ได้ ขอเชิญทดลองทำสบู่ใช้เองสักครั้ง แล้วจะติดใจไม่อยากควักกระเป๋าซื้ออีกเลย

ทำ “สบู่” ใช้เอง

สบู่ที่ดีต่อผิว ทำให้ผิวนุ่มชุมชื้น ไม่มีสารเคมีที่ลดแรงตึงผิวหรือสารเพิ่มฟองจนก่อให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง หรือแสบตาตามมาหลังจากใช้ ก็คือสบู่ที่ทำจากกลีเซอรีนบริสุทธิ์ (Glycerin) แล้วนำมาผสมกับสมุนไพรที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ

ทำ สบู่ ใช้เอง

กลีเซอรีน ไร้กลิ่น ไร้สี เป็นของเหลวที่ละลายน้ำและ alcohol ได้ดี จึงถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์สารเคมี และนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะเป็นส่วนผสมในการทำเครื่องทำสำอาง เนื่องจากช่วยดูดซับความชื้นให้ผิว ขจัดคราบสกปรก ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน ได้จากน้ำมันปาล์มก็ดี น้ำมันมะพร้าวก็ดี

คุณสามารถหาซื้อกลีเซอรีนจากร้านเคมีภัณฑ์ โดยใช้ปริมาณ 500 กรัม หรือ 1000 กรัม ส่วนสมุนไพรบำรุงผิวนั้นหาได้ง่ายจากพืชสมุนไพรใกล้ตัว ได้แก่ เหง้าขมิ้นชัน (ชนิดผงก็ได้) มะขาม ว่านหางจระเข้ เปลือกมังคุด มะละกอ มะเขือเทศ แตงกวา ฯลฯ โดยนำพืชเหล่านี้มาโขลกหรือปั่นกับน้ำ แล้วต้มให้เดือดในปริมาณ 200-250 ซีซี ทิ้งไว้ให้เย็น 

สบู่

สบู่กลีเซอรีนทำง่ายมาก เพียงแต่ต้องหาแม่พิมพ์สำหรับทำสบู่ให้เป็นก้อน หรือไม่ก็ใช้ถาดที่มีขอบสูงแทนก็ได้ เริ่มต้นด้วยการตั้งหม้อสแตนเลสบนไฟอ่อน ใส่กลีเซอรีนที่ซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปแล้วใช้ไม้พายคนจนเนื้อกลีเซอรีนละลายเป็นของเหลว จากนั้นจึงเทน้ำสมุนไพรบำรุงผิวลงไปรวมกับเนื้อกลีเซอรีนที่ละลายในหม้อ คนให้เข้ากันดี ยกลง 

ในขั้นตอนนี้ สามารถใส่ส่วนผสมอื่นที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ เช่น น้ำผึ้ง น้ำมันรำข้าวลงไปด้วยได้สัก 5-10 ซีซี หรือถ้าต้องการแต่งกลิ่นสบู่ คุณก็เพียงแต่หาซื้อน้ำหอมแต่งกลิ่นแล้วนำมาใส่ผสมลงไปในเนื้อสบู่ที่ละลายดีแล้ว จากนั้นจึงเทเนื้อสบู่นั้นลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ให้เต็มขอบพิมพ์ รอให้เนื้อสบู่แห้งดี จึงค่อยแกะออกจากพิมพ์แล้วห่อพลาสติกใสเก็บไว้ในที่แห้ง นำไปใช้งานได้ทันที  ข้อควรทราบก็คือ สบู่ที่ทำจากกลีเซอรีนบริสุทธิ์จะมีฟองเพียงเล็กน้อยและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ไม่ควรเพิ่มสารเคมีเพื่อให้เกิดฟองมากโดยไม่จำเป็น เพราะอาจชำระล้างไม่หมดและตกค้างเป็นอันตรายต่อผิวพรรณของคุณได้

ถ้าหากคุณอยากสุขภาพดี อย่าลืมทำความรู้จักกับ โรคเก้าท์ กับภัยอันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด ได้อีกที่ worldcongressacg2017.org

Related Post