หมดปัญหา “ฟันปลอม” ไม่สะอาดหรือฟันปลอมเหลือง ด้วยวิธีดูแลที่แสนง่าย!
ฟันชุดที่สามก็คือ ฟันปลอม ที่แม้จะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่หากไม่ดูแลรักษาอย่างดีย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและฟันแท้ซี่อื่นๆ ได้ครับ เรามาดูกันว่าการดูแลฟันปลอมในผู้สูงอายุซึ่งมักใส่ฟันปลอมทั้งปาก หรือฟันปลอมบางส่วนในผู้ที่มีอายุน้อยๆ ชนิดถอดได้ต้องทำอย่างไร?
ดูแลรักษา ฟันปลอม อย่างถูกวิธี
ไม่กัด
ฟันปลอมเคี้ยวอาหารได้ แต่หากเป็นฟันปลอมซี่หน้า ไม่ควรใช้กัดเพราะอาจหลุดออกมาได้ง่าย
ล้างหลังอาหาร
หลังอาหารทุกครั้งต้องถอดฟันปลอมออกมาล้างให้สะอาดเพื่อสุขอนามัยและป้องกันฟันปลอมเหลือง แนะนำให้ใช้สบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจาน ไม่ควรใช้ยาสีฟันชนิดผงขัดเพราะอาจทำให้ฟันปลอมส่วนที่เป็นพลาสติกสึกได้ นอกจากนี้ให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มในการทำความสะอาดเบาๆ ไม่ต้องออกแรง
มีภาชนะรองรับ
ในการถอดฟันปลอมควรมีภาชนะรองรับหรือใช้วางเพื่อสุขอนามัยที่ดี
แก้ปัญหาฟันปลอมเหลือง
หากฟันปลอมเหลืองจากคราบอาหาร ชา กาแฟ หรือบุหรี่ ทำความสะอาดอย่างไรก็ไม่หาย แนะนำให้ใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอมโดยเฉพาะ ซึ่งมีขายตามร้านขายยาและร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามทั่วไป ราคาไม่แพงแต่มีประสิทธิภาพดีมาก แถมยังทำให้ฟันปลอมมีกลิ่นหอมสดชื่นด้วยครับ
ตัวช่วยน้ำส้มสายชู
หากฟันปลอมมีคราบหินปูนเกาะหรือสกปรกมาก ให้แช่น้ำส้มสายชูประมาณ 8 ชั่วโมงแล้วใช้แปรงสีฟันขนนุ่มทำความสะอาด แต่ไม่แนะนำสำหรับฟันปลอมที่มีตะขอหรือโครงโลหะครับ
ถอดก่อนนอน
ก่อนเข้านอนต้องถอดฟันปลอมออกเพื่อไม่ให้สะสมเชื้อโรค และเป็นการลดปัญหาการกดทับเหงือกของฟันปลอมตลอดทั้งวัน ไม่ทำให้เหงือกอักเสบด้วย
แช่น้ำ
เมื่อต้องถอดฟันปลอมออกนานๆ อย่างการเข้านอน ให้แช่ในภาชนะอย่างแก้วที่มีน้ำสะอาดเหนือระดับฟันปลอม เพื่อป้องกันฟันปลอมแห้งหรือเสียรูปทรง ห้ามแช่น้ำร้อนเด็ดขาดเพราะฟันอาจบิดเบี้ยวได้
อายุการใช้งานของฟันปลอมที่ต้องรู้ไว้
งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา ฟันปลอมก็เช่นกันที่มีวันหมดอายุครับ ซึ่งอายุเฉลี่ยของฟันปลอมคือ 5 – 10 ปี อาจยาวไปได้นานกว่านี้หากดูแลรักษาดีๆ แต่ไม่ควรใช้นานเกินไปเพื่อสุขภาพช่องปากและความสวยงามครับ
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับฟันปลอมต้องทำอย่างไร?
หากใส่ฟันปลอมแล้วรู้สึกระคายเคือง ฟันปลอมบาดเหงือกจนเจ็บ คับแน่นเกินไป หรือแม้แต่หลวมจนไม่มั่นใจในการพูดและการกิน ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขครับ
ถ้าหากคุณอยากสุขภาพดี อย่าลืมติดตามว่าการเสียใจ จนต้องเก็บไปร้องไห้บ่อยๆ มันอาจส่งผลให้ปอดของเราทำงานหนัก ได้อีกที่ worldcongressacg2017.org