เป็นผู้ป่วย “พาร์กินสัน” ก็สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้

พาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติทางระบบประสาทจนทำให้ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถที่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง มือสั่น ตัวเกร็ง พูดไม่ชัด หรือการเดินของผู้ป่วยมีความช้าลงอย่างมาก ซึ่งลักษณะอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) จะส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันได้ง่าย หรือไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมบางอย่างได้ด้วยตัวเอง

ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความเครียด ความกังวลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับโรคพาร์กินสัน จนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยพาร์คิงสันจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และใส่ใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งการดูแลอย่างถูกวิธีทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
หลักการดูแลผู้ป่วย พาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
การดูแลด้วยความรัก และความเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะ ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) นอกจากมีความผิดปกติทางด้านร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจด้วย ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยจึงต้องใส่ใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ต้องทำความรู้จัก และเข้าใจโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
การศึกษาและทำความเข้าใจถึงโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) จะช่วยให้ผู้ป่วย และผู้ที่ดูแลเข้าใจถึงหลักการดูแลอย่างถูกหลักว่าโรคมีอาการอย่างไร ควรดูแลผู้ป่วยในเรื่องใดบ้าง ถึงแม้โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) จะยังไม่มีการรักษาให้หายขาดแต่การดูแลที่ถูกหลักก็ช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น สิ่งที่เราควรดูแลผู้ป่วยหลัก ๆ คือ
- การรับประทานอาหาร ควรที่จะรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาหารอ่อน การทำงานของลำไส้และกระเพาะอาหารจะน้อยลง
- ยาที่ใช้ในการรักษาพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ส่วนมากแพทย์จะทำการจ่ายยาเลโวโดปา (Levodopa) เป็นตัวยาที่ต้องรับประทานเมื่อท้องว่างถึงจะได้ประสิทธิภาพดีที่สุด
- การจัดสถานที่เพื่อผู้ป่วยให้มีสถานที่ที่โล่ง อากาศปลอดโปร่ง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินชน ล้ม โดนสิ่งของต่าง ๆ
- ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อเป็นการกระตุ้นระบบประสาทของผู้ป่วยให้ทำงานอยู่เป็นประจำ ให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ฝึกใช้กล้ามเนื้อในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
- ต้องดูแลจิตใจของผู้ป่วยร่วมกับการดูแลสุขภาพ
การที่ร่างกายของผู้ป่วยใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือนั้น อาจทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดได้ ดังนั้นเราควรที่จะดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลา
- ดูแลเรื่องการใช้ชีวิตให้เหมือนปกติ
อย่าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าผู้ป่วยคือภาระ พยายามให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมของครอบครัวอย่างสม่ำเสมอเหมือนที่ผ่าน ๆ มา
ถ้าหากคุณอยากสุขภาพดี อย่าลืมติดตามดอกอัญชัน อีกหนึ่งสมุนไพรที่มีประโยชน์มากกว่าที่ทุกคนคิด ได้อีกที่ worldcongressacg2017.org